ประเภทของลายไทยพื้นฐาน

อ่าน 227403 | ตอบ 24
   ประเภทของลายไทยพื้นฐาน
 
จะเห็นได้ว่าลวดลายไทยที่นำมาใช้ตกแต่งตามสถาปัตยกรรม บ้านเรือนและสิ่งของเครื่องใช้ มีหลายรูปแบบ หลายประเภท และถูกนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ กันตามความเหมาะสมได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะลายไทยพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ลายกระจัง  ลายประจำยาม  ลายดาว  ลายพุ่ม  ลายกระหนกสามตัว  ซึ่งลายเหล่านี้เรียกกันอีกอย่างว่า “แม่ลาย” เพราะสามารถนำมาประดิษฐ์ให้เป็นลวดลายต่างๆ ได้อีกมากมาย
 
 
 
๑. แม่ลายกระจัง
 
         ลักษณะของแม่ลายกระจัง
            แม่ลายกระจังเป็นแม่ลายที่ได้รับแรงบันดาลมาจากฟันปลา  ตาอ้อย  หรือดอกบัว  เป็นแม่ลายที่ประดิษฐ์หรือเขียนขึ้นภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า แม่ลายกระจังนี้เป็นลวดลายที่แสดงแบบเฉพาะด้านหน้า ไม่นิยมเขียนหรือปั้นให้เห็นด้านข้าง ลักษณะส่วนใหญ่อยู่ในรูปทรงของกลีบบัว และเป็นลายติดต่อซ้ายขวา เขียนเดินตามเส้นขอบลาย
 
 

ประเภทของแม่ลายกระจัง
            แม่ลายกระจังจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของลาย ดังนี้ (ศุภสิน  สารพันธ์. ๒๕๔๕ : ๘๓)
๑.      กระจังฟันปลา 
๒.     กระจังตาอ้อย
๓.     กระจังใบเทศ
๔.     กระจังปฏิญาณ
๕.     กระจังเจิม
๖.      กระจังรวน
๗.     กระจังคอเสื้อ
 
 
 
         ประโยชน์ของแม่ลายกระจัง
            แม่ลายกระจังเป็นลวดลายที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในการเขียนเป็นลวดลายประกอบตามขอบลาย ถ้าเขียนให้ส่วนยอดตั้งขึ้นเรียกว่า “บัวหงาย”  ถ้าเขียนให้ส่วนยอดลงด้านล่าง เรียกว่า “บัวคว่ำ” หากเขียนให้ยอดเอนเรียกว่า “บัวรวน”

 

 


 

 แม่ลายประจำยาม
 
                 ลักษณะของแม่ลายประจำยาม
                      สันนิษฐานว่ามีที่มาจากดอกจันหรือลูกจันที่ผ่าเอาเนื้อข้างในออกแล้วเหลือเพียงเปลือกนอก เป็นแม่ลายที่เขียนอยู่ในรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสตะแคง มีลักษณะคล้ายดอกไม้ มีเกสรเป็นรูปวงกลมอยู่ตรงกลาง มีกลีบมนแหลมดล้ายกลีบบัวล้อมอยู่โดยรอบ ๔ กลีบ ด้วยกัน


 

         ประโยชน์ของแม่ลายประจำยาม
                      แม่ลายประจำยามใช้เป็นที่ออกลาย หรือใช้เป็นที่ห้ามลายหรือหยุดลาย จะสังเกตเห็นว่า ลายนี้มีประดับอยู่ตามเสา ขอบประตู หน้าต่างของโบสถ์ วิหาร เจดีย์ ปราสาท หรือติดประดับกับเสาบุษบกทั้ง ๔ ด้าน ติดประดับอยู่ที่เครื่องสวมหัวประจำอยู่ทั้ง ๔ ด้าน เช่นนี้เรียกว่า “ประจำยาม” เพราะเชื่อว่าเป็นยามรักษาการณ์ป้องกันภัยแก่ผู้คิดมิดีมิร้าย ลายประจำยามนี้เมื่อนำไปใช้กับลวดลายอื่นๆ มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ประจำยามก้ามปู ประจำยามลูกฟักก้ามปู  ราชวัตรประจำยาม ประจำยามก้านเกี้ยว ลายซีกดอกซ้อน


 
    


 

 


 แม่ลายดาว
 
                 ลักษณะของแม่ลายดาว
                      แม่ลายดาวรูปร่างส่วนใหญ่จะอยู่ในวงกลม มีลักษณะเหมือนนำแม่ลายประจำยามมาวางซ้อนสับหว่างกันตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป บางแห่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น แม่ลายดอกจอก ลายดอกลอย ลายดาวรังแตน แม่ลายดาวสามารถประดิษฐ์ตกแต่งให้มีรายละเอียดด้วยการ บาก แบ่ง สอดไส้ ให้เป็นลวดลายแบบต่างๆ ออกไปอีกได้มากมาย แต่ทั้งนี้ต้องมีรูปร่างอยู่ในพื้นที่วงกลมเสมอ
 

 


 ประโยชน์ของแม่ลายดาว
                      การนำแม่ลายดาวไปใช้ได้ถูกระบุตำแหน่งไว้อย่างชัดเจนว่าอยู่ตรงส่วนที่เป็นฝ้าเพดานจองอาคารทางศาสนา เช่น อุโบสถ์ วิหาร ซุ้มพระปรางค์ ซุ้มสถูป เจดีย์ เพดานธรรมมาสน์ เพราะถือว่าส่วนล่างของอาคารเป็นพื้นธรณี ส่วนที่เป็นเพดานเปรียบเหมือนท้องฟ้าซึ่งมีดาวประดับอยู่ หรือหากนำแม่ลายดาวมาเขียนผสมกับลายอื่นๆ ก็จะทำให้ได้ลายอีกหลายแบบหลายชนิด เช่น ลายดาวล้อมเดือน ลายราชวัตร ซึ่งใช้ทำลายปูนปั้น แกะสลักไม้ ลายเพดาน ฝาผนังอาคาร ลายผ้าม่าน ผ้านุ่งหรือลายเสื้อ เป็นต้น

 แม่ลายพุ่ม หรือลายหน้าขบ
 
                     ลักษณะของแม่ลายพุ่มหรือลายหน้าขบ
                      แม่ลายพุ่ม เป็นแม่ลายที่เขียนขึ้นเป็นแบบภายในรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนบังคับ รูปแบบของแม่ลายพุ่มนี้ส่วนที่เป็นไส้มีรูปเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์อยู่ตรงกลาง และมีกลีบคล้ายๆ กับกลีบในแม่ลายดอกสี่กลีบลัอมอยู่โดยรอบ ๔ กลีบ  แม่ลายพุ่มยังสามารถเขียนเป็นลายได้อีกหลายชนิดซึ่งเขียนเป็นลายอย่างไรก็เรียกอย่างนั้น เช่น ลายหน้าขบ ซึ่งมีที่มาจากหน้าศัตรูที่ดุร้าย หรือประดิษฐ์มาจากหน้าสัตว์หิมพานต์ต่างๆ ที่ใช้ปาก ฟัน เขี้ยว ขบกัด จึงเรียกว่า “หน้าขบ”
                 ส่วนประกอบของลายหน้าขบ ประกอบไปด้วย จมูก ฟัน ปาก เขี้ยว ตา คิ้ว คาง แก้ม หน้าผาก ถ้าเขียนเป็นเทพนมก็เรียกว่า ลายพุ่มเทพนม หรือถ้าเขียนร่วมกับลายอื่นๆ ก็เรียกร่วมกัน เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง  ลายพุ่มเทพนมก้านแย่ง เป็นต้น


 

 


 ประโยชน์ของแม่ลายพุ่ม
                      แม่ลายพุ่มจะเป็นลายสำหรับใช้เป็นที่ออกเถาลาย หรือใช้เป็นภาพขบกัดลายในบางตอน เพื่อเพิ่มความรุนแรงอันเป็นศิลปะเปรียบเทียบกับความอ่อนหวานของลวดลาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นลายกั้นกลางเพื่อห้ามลายสองเถาไม่ให้มาชนกัน และใช้เขียนตกแต่งตามบานประตู หน้าต่าง เสา ฝาผนัง ฯลฯ





 แม่ลายกระหนก
 
                     ลักษณะของแม่ลายกระหนก
                      แม่ลายกระหนก เป็นลายที่มีรูปร่างอยู่ภายในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากบังคับ ลักษณะของลาย ถ้าเขียนเป็นดัวลายหนึ่งตัวขมวดปลายแหลม เรียกว่า “กระหนกหนึ่งตัว หรือกระหนกเดี่ยว” หากเขียนประกอบขึ้นด้วยตัวลายขมวดปลายแหลมซ้อนกัน ๓ ตัว ก็จะเรียกว่า “กระหนกสามตัว” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กระหนกนาง”  ซึ่งนับเป็นแม่ลายที่สำคัญในกระบวนการเขียนลายไทย เพราะกระหนกสามดัวจะเป็นลายที่บรรจุทั้ง ก้าน เถา กาบใหญ่ กาบเล็ก กลีบเลี้ยง ตัวกระหนกและยอดกระหนกไว้อย่างครบถ้วน และสามารถประดิษฐ์ตกแต่งด้วยการเขียนแบ่งช่องไฟภายในตัวลายให้ถี่และเพิ่มเติมตัวแทรกลงให้เป็นแบบต่างๆ กันออกไปได้ไม่จำกัด ข้อสำคัญต้องรักษารูปโครงสร้างส่วนรวมของแม่ลายไว้ให้คงเดิม



 

 


ประเภทของแม่ลายกระหนกสามตัว
 
                 แม่ลายกระหนกสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของลายได้ดังนี้
                      ๑. กระหนกเปลว  มีที่มาจากเปลวไฟ
                      ๒. กระหนกใบเทศ มีที่มาจากใบเทศ (ใบฝ้าย)
                           ๓. กระหนกผักกูด  มีที่มาจากผักกูด ตัวกระหนกมีการเขียนขมวด ขด และยอดพลิกกลับ
                      ๔. กระหนกยอดนาค เป็นกระหนกที่นำเอาหัวนาคมาประกอบกับตัวลาย


 

 

 

ประโยชน์ของแม่ลายกระหนก
                      แม่ลายกระหนกนั้นเป็นแม่ลายที่สำคัญที่สุดในกระบวนการเขียนลายไทย นิยมนำไปเขียนปั้น แกะสลัก ประดับสิ่งก่อสร้าง เช่น หน้าบันโบสถ์ วิหาร บานประตู หน้าต่าง ตู้พระธรรม ฯลฯ หรือนำลวดลายไปเขียนประดับตกแต่งบนเครื่องปั้นดินเผา เครื่องถม เครื่องเงิน เครื่องใช้ต่างๆ ได้มากมาย


 
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

mimi mumu
       น่ารักอ้าาาาาาาา  ม้วบบบบบบบบ
 
mimi mumu [202.143.151.xxx] เมื่อ 8/08/2014 14:15
2
อ้างอิง

phoosawbanban
 สุดยอดเลยจ้า
 
 
phoosawbanban [223.204.249.xxx] เมื่อ 14/01/2015 21:32
3
อ้างอิง

boom
 
boom [118.174.112.xxx] เมื่อ 15/01/2015 21:44
4
อ้างอิง

johnny
ใครวาดได้เทพฟุดๆ
 
johnny [124.122.239.xxx] เมื่อ 14/02/2015 11:26
5
อ้างอิง

สู้ ซ่าาาาาา
wink
 
สู้ ซ่าาาาาา [49.230.192.xxx] เมื่อ 27/01/2016 20:15
6
อ้างอิง

อลิซ
ขอเพิ่มให้ถึง10ได้ไหม
 
อลิซ [171.7.198.xxx] เมื่อ 30/01/2016 09:34
7
อ้างอิง

Swiftie13
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ กำลังจะใช้สอบพอดี ^3^
 
Swiftie13 [49.49.248.xxx] เมื่อ 25/02/2016 21:30
8
อ้างอิง

Hello
 
Hello [223.207.118.xxx] เมื่อ 2/01/2017 12:52
9
อ้างอิง

232963
 
232963 [58.137.157.xxx] เมื่อ 28/01/2017 21:51
10
อ้างอิง

สุดยอดดดดดดดดดดดด
  สุดยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
 
สุดยอดดดดดดดดดดดด [58.137.157.xxx] เมื่อ 28/01/2017 21:51
123
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :